เมนู

สองบทว่า เอโกว โลเก ความว่า ในโลกสันนิวาสแม้ทั้งสิ้น
เราผู้เดียวเท่านั้น คือไม่มีคนที่สอง.
บทว่า อนุตฺตรํ ในคำว่า อนุตฺตรํ สมฺมาสามฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธ
นี้ ความว่า เว้นจากอริยมรรคอันเยี่ยมเสียแล้ว ประเสริฐกว่าธรรมทุกอย่าง.
บทว่า สมฺมาสมฺโพธึ แปลว่า ซึ่งความตรัสรู้โดยชอบและด้วย
พระองค์เอง. อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ซึ่งความตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระองค์
เอง. อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ซึ่งความตรัสรู้ ที่ปราชญ์สรรเสริญด้วย ดีด้วย.

[โพธิศัพท์หมายความถึง 4 นัย]


ต้นไม้ก็ดี มรรคก็ดี สัพพัญญุตญาณก็ดี นิพพานก็ดี ท่านเรียกว่า
โพธิ.
จริงอยู่ ท่านเรียกต้นไม้ว่า โพธิ ในอาคตสถานทั้งหลายว่า ตรัสรู้
ครั้งแรก ที่โคนโพธิพฤกษ์ และว่า ในระหว่างแห่งต้นโพธิ์ ในระหว่าแห่ง
แม่น้ำคยา.
มรรค ท่านเรียกว่า โพธิ ในอาคตสานว่า ความรู้โพธิปักขิยธรรม
37 ประการ ในมรรคทั้ง 4.
สัพพัญญุตญาณ ท่านเรียกว่า โพธิ ในอาคตสถานว่า พระสิทธัตถ-
โพธิสัตว์ มีพระปัญญาประเสริฐดุจแผ่นปฐพี ทรงบรรลุพระโพธิญาณ.
พระนิพพาน ท่านเรียกว่า โพธิ ในอาคตสถานว่า พระสิทธัตถ-
โพธิสัตว์ ทรงบรรลุโพธิ อันเป็นอมตะเป็นอสังขตะ.
แต่ในบทว่า สมฺมาสมฺโพธึ นี้ ท่านประสงค์เอาอรหัตมรรคญาณ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ประสงค์เอาสัพพัญญุตญาณ
บ้าง.

ถามว่า พระอรหัตมรรค ของคนเหล่าอื่น จัดเป็นโพธิ (ความตรัสรู้)
อย่างยอดเยี่ยมหรือไม่ ?
แก้ว่า ไม่เป็น.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่เป็น ?
แก้ว่า เพราะพระอรหัตมรรคของคนเหล่าอื่นนั้น อำนวยคุณให้ไม่ได้
ทุกอย่าง.
จริงอยู่ พระอรหัตมรรคของบรรดาคนเหล่านั้น บางคนให้เฉพาะ
พระอรหัตผลเท่านั้น. ของบางคน ให้เฉพาะวิชชา 3. ของบางคน ให้เฉพาะ
อภิญญา 6. ของบางคน ให้เฉพาะปฏิสัมภิทา 4. ของบางคน ให้เฉพาะ
สาวกบารมีญาณ. ถึงของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ให้เฉพาะปัจเจกโพธิ-
ญาณเท่านั้น. ส่วนพระอรหัตมรรคของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมให้คุณสมบัติ
ทุกอย่าง ดุจการอภิเษกของพระราชาให้ความเป็นใหญ่ในโลกทั้งหมด ฉะนั้น.
เพราะฉะนั้น พระอรหัตมรรค แม้ของคนอื่นบางคน จึงไม่จัดเป็นโพธิ
(ความตรัสรู้) อย่างยอดเยี่ยม ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อภิสมฺพุทฺโธ ความว่า เราได้รู้ยิ่งแล้ว คือได้แทงตลอดแล้ว
อธิบายว่า เราได้บรรลุแล้ว คือได้ถึงทับแล้ว.

[ข้อเปรียบเทียบการทรงบำเพ็ญอนุปัสสนาเหมือนการฟักไข่]


บัดนี้ บัณฑิตควรเทียบเคียงคำอุปมาอุปไมย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เอวเมว โข อหํ พฺราหฺมณ แล้วพึงทราบโดย
ใจความ โดยนัยดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ : -